สมมุติว่าเราเป็นคนขี้โกรธ ก็จะปรุงอะไรที่มันเป็นมาสนองความโกรธเวลา ‘มีสติรู้’ มันจะมีทักษะในการ ‘รู้’ ความโกรธเกิดขึ้นมาพอรู้ทันมันก็จำ..รู้จัก ตอนแรกมันจะรู้จัก โกรธเป็นอย่างนี้ก็รู้ทัน แต่ตอนไม่รู้จักมันจะมองว่าไอ้นั่นเลว..ไอ้นี่ไม่ดีประมาณนี้..
การจราจรบางทีมันไม่ใช่คนนะ มันไม่ชอบใจ สภาพบ้านเมือง สภาพการจราจรอะไรอย่างนี้นะ ก็มองไปข้างนอกใช่ไหม ไม่ได้มองว่าจิตมันโกรธ แต่พอมีสติรู้ทัน อ้อ..นี่คือโกรธ มันรู้จักสภาวะ แล้วเราเป็นคนขี้โกรธ มันก็จะมีโกรธเกิดบ่อย ก็รู้ทันว่าโกรธก็รู้จัก รู้จักซ้ำแล้วซ้ำอีก..มันก็กลายเป็นสนิทสนมกลมเกลียวกับมันนะ กลมเกลียวในลักษณะไม่ตามใจมัน เป็นเพื่อนที่ดีคือเห็นมันบ่อยๆ ก็จำได้ มันแอบมานิดนึงก็รู้เลยว่านี่..คือโกรธ..อีกแล้ว จิตขยับนิดนึงก็รู้เลยนี่..คือโกรธละประมาณนี้นะ ก็เรียกว่าทักษะมันมาจากที่ว่ามีให้ดูบ่อยๆ
ฉะนั้นอย่าไปกลัว มีก็ดูไป..ก็เกิดทักษะ แล้วทักษะจะสะสมจนกลายเป็น ‘ถิรสัญญา’ เห็นแล้วจำ..เห็นแล้วจำเป็น ‘สัญญา’ เห็นแล้วจำ เห็นบ่อยก็จำบ่อย..เห็นบ่อยก็จำบ่อย จนจำได้แม่นเป็นถิรสัญญา มันขยับโกรธ..นึกโกรธนิดเดียวรู้ทัน ตอนรู้ทันมันจะรู้แบบอัตโนมัติเลย หลังจากที่มีถิรสัญญาแล้วตรงนี้จะเรียกว่ามี
‘สัมมาสติ’ แล้ว สติที่เราฝึกมาแรกๆ ยังไม่สัมมานะ ตอน ‘สัมมา’ จะมาจากที่ว่ามีถิรสัญญา มันมีอะไรเกิดขึ้นแล้วจิตทำงานเอง ทำงานเองคือรู้ได้เอง มีสติแบบอัตโนมัติ แล้วเวลาตอนเกิดมรรคผลมันก็ต้องเป็นอย่างนี้ เห็นมันไม่ได้มีเจตนาที่จะต้องไประลึกรู้..มันจะรู้เอง
อย่างที่อาตมาบอกว่า ตอนทำสมถะต้องเจตนาหน่อยๆ จิตรวมอยู่กับอารมณ์ก็จริงนะ..ก็เจตนาหน่อยๆ ไอ้ตอนที่หลงแล้วก็มันไม่ต้องฝึก ไอ้ตอนรู้ต้องเจตนา แต่พอมีถิรสัญญาแล้วนะ ก็ทำสมถะ..เจตนาอยู่นะ ตอนหลงก็ช่างมันคือมันทำงานเอง ตอนรู้เนี่ยมันรู้เองเลย..ไม่ได้มีเจตนาเลย ตอนที่มีมรรคผลเกิดขึ้นมา ตรงนี้ไม่เจตนา แต่มันเป็นผลมาจากที่ ‘รู้’ บ่อยจนจิตมันจำได้
ดังนั้น ‘กิเลส’ ไม่ต้องรู้ทุกตัว คือกิเลสตามตำรามีเยอะมากเลยนะ แต่กิเลสในใจเรานี่ไม่ต้องรู้ทุกตัว รู้เท่าที่มันมี เท่าที่มันเป็นบ่อยๆ แต่ไม่ใช่ว่ารอดูเฉพาะกิเลสตัวนี้ มีอะไรเกิดขึ้นก็รู้ตัวนั้น แต่มันจะมีตัวบ่อยของเราอยู่..ก็รู้ตัว แล้วมันก็บ่อยเองไม่ได้แกล้งบ่อย เราขี้โกรธจะมีความโกรธเกิดขึ้นบ่อยเอง แล้วเราจะมีทักษะในการรู้ความโกรธขึ้นมา คนที่ฟุ้งซ่านก็ฟุ้งซ่านนะ ไม่ได้แกล้งฟุ้งซ่านมันฟุ้งอยู่นะ ฟุ้งแล้วก็รู้ๆ มันก็จะเห็นเลยว่าอย่างนี้คือฟุ้ง แล้วฟุ้งมันคืออยู่ในกลุ่มของหลงคือโมหะ เพราะฉะนั้นจิตขยับนิดนึงก็รู้เลย นี่จะฟุ้งอีกแล้ว ขยับนิดนึงก็จะรู้เลย มันอยู่ในกลุ่มของโมหะนะฟุ้งซ่าน ฟุ้งซ่านหดหู่นี่อยู่กลุ่มโมหะ ฉะนั้นรู้ฟุ้งซ่านหรือรู้หดหู่นี่นะ มันจะ ‘รู้-หลง’ พอจิตขยับปุ๊บ…รู้ เรียกว่า ‘ฟุ้ง’ แล้วรู้จนชำนาญ หรือ ‘หดหู่’ แล้วรู้จนชำนาญ จิตขยับนิดนึงก็จะรู้เลย มันจะเป็นการรู้หลง แต่จะรู้หลงได้ก็ต้องมีสมถะเป็นตัวเทียบ ไม่ใช่รู้ไปเรื่อยๆ รู้ปุ๊บ..ทำสมถะต่อ แล้วหลง..แล้วรู้ทันประมาณนี้ จิตขยับรู้..จิตขยับรู้ แต่ในตอนจิตขยับ ‘รู้’ ต้องสมถะ ก็กลายเป็นว่าทำสมถะ จิตขยับรู้ ทำสมถะ..จิตขยับรู้ แล้วตรงนี้จะถี่ๆ ในแง่ของคนที่มีความชำนาญแล้วนะ ตอนที่รู้มันจะกลายเป็นเหมือนไม่ได้ตั้งใจ จิตมันทำงานเอง มันต้องให้ได้ขนาดนี้นะ จึงจะเกิดมรรคผลได้
พระอาจารย์กฤช นิมฺมโล
สวนธรรมประสานสุข จังหวัดชลบุรี
25 กุมภาพันธ์ 2567
ณ บ้านจิตสบาย
ที่มาคลิป: https://youtu.be/6Raw_Pt5LyQ?si=hYFjFTsxOM4l-FIg
#ถิรสัญญา #สัมมาสติ #สติรู้ทัน #สมถะ #รู้จักโกรธ #รู้จักสภาวะ #เห็นสภาวะ #ทักษะรู้ทันสภาวะ #เห็นสภาวะบ่อย #จิตจำสภาวะได้เเม่น #สัญญา #รู้อัตโนมัติ #พระอาจารย์กฤช #พระอาจารย์กฤชนิมมฺโล #นิมมฺโล #สัมมา #มีอะไรเกิดขึ้นจิตทำงานเอง #ระลึกรู้ #มีสติแบบอัตโนมัติ #สมถะ #จิตรวมอยู่กับอารมณ์ #ฝึกจิต #กิเลส #ฟุ้งซ่าน #หดหู่ #รู้หลง #มรรคผล #บ้านจิตสบาย