
คุณแม่ชีอรนุช สันตยากร
การภาวนาต้องใช้เวลาสะสม
จริงๆ ภาพรวมในการเทศน์ การฟังธรรมะ โดยหลักแล้วก็เพื่อให้พวกเราเข้าใจหลักในการปฏิบัติ ที่เหลือที่สำคัญที่สุดก็คือ ‘พวกเราต้องปฏิบัติ แล้วก็ดูกายดูใจของพวกเราเอง’ ตรงนี้สำคัญที่สุด ฉะนั้นเวลาเราฟังธรรม ฟังหลวงพ่อจริงๆ แล้วก็ค่อนข้างครอบคลุมหมดแล้วนะ เพียงแต่ว่าผู้ช่วยสอนคนอื่นก็อาจจะมีแง่มุมต่างๆ ให้พวกเราได้เรียนรู้ แต่ที่สำคัญที่สุดเราฟังหลักแล้ว มันต้องไปปฏิบัติเอา
จิตเข้าบ้านได้ 2 ทาง
ถ้าเราทำสม่ำเสมอนะแล้วไม่ได้ทำผิดนะคะ จิตมันจะเข้าบ้านขึ้นเรื่อยๆ มีเป็นช่วงๆ มันจะรู้ด้วยตัวเองได้ ถ้าเราจำจิตที่เข้าบ้านได้
พอมันออกนอกจากบ้านไปเนี่ย มันจะรู้ได้เองนะคะ ลองดูว่าเข้าบ้านมี 2 แบบคือ ‘จิต’ ที่เป็น ‘จิตผู้รู้สัมมาสมาธิ’ มันมาได้ 2 ทาง
สู้กิเลสเเละแก้ปัญหาด้วยสัมมาสมาธิ
งานกรรมฐานเป็นงานระยะยาว เพราะฉะนั้นพวกเราทำได้อย่างเดียวนะ ก็คือ ‘อดทน’ แล้วก็ ‘สม่ำเสมอ’ เรียกว่าทำกัน 10 ปี 20 ปี หรือทำกันทั้งชีวิตเลยนะ แต่ว่าเราอาจจะไม่ได้ สมมุติเราไม่ได้มรรคผลแต่ในระหว่างทางที่เราทำ เราจะเห็นได้เองว่าตัวของเรามีพัฒนาการหรือเปล่า แต่ละคนต้องสะสมเอา จริงๆ หลวงพ่อก็พูดอยู่บ่อยๆ บางคนที่เขาเข้าใจธรรมะ เขาก็ต้องเคยสะสมเคยพากเพียรของเขามา ทุกคนเนี่ยไม่ได้ได้มาด้วยความสบายๆ ทุกคนแหละ ทุกคนต้องพากเพียรมา
รู้ทันความปรุงเเต่ง จนจิตเป็นอิสระ
เรื่องความปรุงแต่งสำคัญมากนะ มันเยอะมากเลย แล้วก็ถ้าเรารู้ทันได้ จิตเราจะเป็นอิสระเกิดขึ้น พอรู้ทันปุ๊บ สภาวะเนี่ย สติเกิดจากการที่จิตจำสภาวะได้แม่นยำ ถูกไหม ถ้าหากว่าเราหัดรู้จากสภาวะต่างๆ ทุกความปรุงแต่งมันมีลักษณะเฉพาะตัวของมัน ใช่ไหม อย่างความซึมก็เป็นตัวหนึ่ง ความเรียบร้อยเป็นนักปฏิบัติก็เป็นอีกตัวหนึ่ง ความจงใจ ความตั้งใจ เห็นไหม ทุกตัวมันจะมีลักษณะเฉพาะของมันอยู่ ถ้าเราหัดรู้จักมัน ต่อไปพอมันปรุงขึ้นมาปุ๊บ เราจำได้ สติจะเกิดเอง
ใจเหมือนมีหนวด
พวกเราเนี่ย…ใจของเราจะมีหนวดจำนวนมากมายเลยที่ ‘ไปจับ ไปยึด’ สิ่งต่างๆ รอบตัว ไปสังเกตสิว่าเรานึกถึงคนๆ นี้ เพื่อนของเรานะ
เรานึกถึงเขาปุ๊บ..เรามีน้ำหนักในใจเท่านี้ พอเรานึกถึงอีกคนหนึ่งน้ำหนักในใจของคนนี้ที่มีต่อเราไม่เท่ากัน พูดง่ายๆ ใจเราจะชอบไป ‘ยึดถือ’ สิ่งต่างๆ ข้างนอก เปรอะไปทั่วเลยคือสะเปะสะปะ